วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษณาวดี ทรายขาว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตของคณะฯ
เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมวันวิทย์ถิ่นกุสุมาลย์ 2567 เปิดบ้านวิชาการกุสุมาลย์วิทยาคม ครั้งที่ 5 OPEN HOUSE 5th
เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
ในหัวข้อ "การใช้ทรัพยากรใกล้ตัวให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพิ่มมูลค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"
ภายใต้โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยสะตีมศึกษาเพื่อสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโรงเรียนชนบท อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา บูรณาการกับการใช้ทรัพยากรใกล้ตัว ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่า เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและบริบทท้องถิ่น สร้างเจตคติที่ดีและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รวมถึงเพื่อเป็นเวทีให้ครู เด็กและเยาวชนได้แสดงความรู้ ความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภายในงานมีกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม อาทิเช่น
✅ อินดิเคเตอร์ธรรมชาติ
✅ ไทเทรตกรด เบส
✅ เกมส์บิงโกตารางธาตุ
✅ ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
✅ กิจกรรมเล่นเกมส์แจกของรางวัล
เด็กๆ ในงานสนุก สนานกับกิจกรรมและได้ของรางวัลกลับบ้านกันถ้วนหน้า
แล้วพบกันในกิจกรรมงานวันวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 19 ณ มก.ฉกส. นะคะ วันที่ 22 สิงหาคม 2567 จ้าาาาาาาาาาาาา
หมายเหตุ ;
สะตีมศึกษา (STEAM Education) เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปะ (Arts) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เข้าด้วยกันโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้และสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาจนเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการดาเนินชีวิตผ่านการเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะ สมรรถนะ ตลอดจนบูรณาการ การเรียนรู้สู่การดาเนินชีวิตประจาวัน และช่วยพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียน นอกจากนี้แล้วยังสามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเเละตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในศตวรรษที่ 21
"เป็นเลิศในการบูรณาการศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต"