วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567
บันทึกไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพรทอง เหลาภา
อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
อาจารย์นักวิจัยด้านดินมีชีวิตและภายใต้ชุดโครงการสกลนครโมเดล อาจารย์หญิงคนเก่งแห่ง KUSE
พาทีมนวัตกรชุมชนร่วมออกบูธแสดงผลงาน
และร่วมเสวนา เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ (ดินมีชีวิต ภายใต้ชุดโครงการสกลนครโมเดล)
โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน บนเวที
ในงานเปิดตัว..ศูนย์ชีวภาพชุมชน..แห่งแรกของประเทศไทย ณ สถานีพัฒนาที่ดิน จ.อุบลราชธานี
ศูนย์ชีวภาพชุมชน ของ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โครงการใหม่ในการที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มในการใช้ประโยชน์จาก.ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่เมืองไทยเรานั้นมีพลังชีวภาพมากมายมหาศาล เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้นำออกมาใช้งานใช้ประโยชน์เท่าที่ควร
#ก้าวต่อไปที่สำคัญ คือ การยอมรับนวัตกรรม และรูปแบบการทำงานแบบใหม่ (พาทำ) ให้เกษตรกรไทย เข้าถึงจุลินทรีย์ สามารถผลิตได้เอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน
#ขอบคุณกรมพัฒนาที่ดิน เป็นอย่างสูง
#ขอบคุณกัลยามิตร ผู้มีแนวคิดเดียวกันทุกท่าน ที่ช่วยกันขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
"เป็นเลิศในการบูรณาการศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต"